วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

PLC คืออะไร?

PLC คืออะไร?

Programmable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้

PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำ เนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่ สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย

ข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER
1. PLC ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
2. การโปรแกรมและการใช้งาน PLC ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป PLC มีระบบการตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ช่วงติดตั้ง
จนถึงช่วงการใช้งานทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย
3. PLCถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการตัดสินใจสูงขึ้นเรื่อยๆทำให้การใช้งานสะดวกขณะที่วิธีใช้คอมพิวเตอร์ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น

ประวัติ PLC

ค.ศ.1969
PLCได้ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกโดย บริษัท Bedford Associates โดยใช้ชื่อว่า Modular Digital Controller(Modicon) ให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ในอเมริกาชื่อ General Motors Hydramatic Division บริษัท Allen-Bradley ได้เสนอระบบควบคุมโดยใช้ชื่อว่า PLC

ค.ศ.1970-1979
ได้มีการพัฒนาให ้PLC มีการ ประมวลผลที่เร็วมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของ Microprocessor ความสามารถใน การสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC กับ PLC โดยระบบแรก คือ Modbus ของ Modicon เริ่มมีการใช้อินพุท/เอาท์พุทที่เป็นสัญญาณ Analog

ค.ศ.1980-1989
มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานใน การสื่อสารข้อมูลของ PLC โดยบริษัท General Motor ได้สร้างโปรโตคอลที่เรียกว่า manufacturing automation protocal (MAP) ขนาดของ PLC ลดลงเรื่อย ๆผลิตซอฟแวร์ที่สามารถโปรแกรม PLC ด้วยภาษา symbolic โดยสามารถโปรแกรมผ่าน ทาง personal computer แทนที่จะโปรแกรมผ่านทาง handheld หรือ programing terminal

ค.ศ.1990-ปัจัจจุบัน
ได้มีความพยายามในการที่จะ ทำให้ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม PLC มีมาตราฐานเดียวกันโดยใช้ มาตรฐาน IEC1131-3 สามารถโปรแกรม PLC ได้ด้วย
- IL (Instruction List)
- LD (Ladder Diagrams)
- FBD (Function Block Diagrams)
- SFC (Sequential Function Chart)
- ST (Structured Text)

โครงสร้างโดยทั่วไปของ PLC

ลักษณะโครงสร้างภายในของ PLC ซึ่งประกอบด้วย





1.ตัวประมวลผล(CPU)
ทำ หน้าที่คำนวณเเละควบคุม ซึ้งเปรียบเสมือนสมองของ PLC ภายในประกอบด้วยวงจรลอจิกหลายชนิดและมีไมโครโปรเซสเซอร์เบส (Micro Processor Based)ใช้แทนอุปกรณ์จำพวกรีเลย์ เคาน์เตอร์/ไทม์เมอร์ และซีเควนเซอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถออกแบบวงจรโดยใช้ Relay Ladder Diagram ได้ CPU จะยอมรับข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุทต่างๆ จากนั้นจะทำการประมวลผลและเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจากหน่วยความจำ หลังจากนั้นจะส่งส่งข้อมูลที่เหมาะสมและถูกต้องออกไปยังอุปกรณ์เอาท์พุท

2.หน่วยความจำ(Memory Unit)
ทำ หน้าที่เก็บรักษาโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการทำงาน โดยขนาดของหน่วยความจำจะถูกแบ่งออกเป็นบิตข้อมูล(Data Bit) ภายในหน่วยความจำ 1 บิต ก็จะมีค่าสภาวะทางลอจิก 0 หรือ 1แตกต่างกันแล้วแต่คำสั่ง ซึ่ง PLC ประกอบด้วยหน่วยความจำสองชนิดคือ ROM และRAM
RAM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมของผู้ใช้และข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC หน่วยความจำประเภทนี้จะมีแบตเตอรี่เล็กๆ ต่อไว้เพื่อใช้เป็นไฟเลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับ การอ่านและการเขียนข้อมูลลงใน RAM ทำได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นจึ่งเหมากับงานในระยะทดลองเครื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข โปรแกรมอยู่บ่อยๆ
ROM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC ตามโปรแกรมของผู้ใช้ หน่วยความจำแบบ ROM ยังสามารถแบ่งได้เป็น EPROM ซึ่งจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโปรแกรม นอกจากนี้ยังมีแบบ EEPROM หน่วยความจำประเภทนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม สามารถใช้งานได้เหมือนกับ RAM แต่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่สำรอง แต่ราคาจะแพงกว่าเนื่องจากรวมคุณสมบัติของ ROM และ RAM ไว้ด้วยกัน

3.หน่วยอินพุต-เอาต์พุต (Input-Output Unit)
หน่วยอินพุต ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกแล้วแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณที่เหมาะสมแล้วส่งให้หน่วยประมวลผลต่อไป







หน่วยเอาต์พุต ทำหน้าที่รับข้อมูลจากตัวประมวลผลแล้วส่งต่อข้อมูลไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอกเช่น ควบคุมหลอดไฟ มอเตอร์ และวาล์ว เป็นต้น









4.แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
ทำหน้าที่จ่ายพลังงานและรักษาระดับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้กับ CPU Unit หน่วยความจำและหน่วยอินพุท/ เอาท์พุท

5.อุปกรณ์ต่อร่วม (Peripheral Devices)
• PROGRAMMING CONSOLE
• EPROM WRITER
• PRINTER
• GRAPHIC PROGRAMMING
• CRT MONITOR
• HANDHELD
• etc

PLC ทำ งานอย่างไร?

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

สาย Lan หรือ สาย UTP


มี 5 แบบครับ

ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

สาย LAN หรือ สาย UTP คืออะไร


UTP ย่อมาจาก UNSHIELD TWISTED PAIR ซึ่งถ้าแปลตรงตัวความหมายของมันก็คือ สายตีเกลียวที่ไม่มีตัวป้องกัน เรามาทำความรู้จักกับสาย UTP CABLE กันเลยดีกว่าครับ

UTP CABLE ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์คือ COAXIAL CABLE, UTP CAT5, UTP CAT5e CABLE, UTP CAT6 CABLE และ UTP CAT7 CABLE ซึ่งขีดความสามารถในการใช้งานก็จะแตกต่างกัน


1. COAXIAL CABLE คือ สายทองแดงที่นำมาใช้ในระบบ LAN ที่มีความเร็วที่ต่ำ MAXIMUM ของ SPEED จะอยู่ที่ 10Mbps ส่วนมากใช้ในระบบ BUS

2. UTP CAT5 คือสายทองแดงตีเลียวที่ใช้ในระบบ LAN ที่มีความเร็วปานกลาง MAXIMUM ของ SPEED อยู่ที่ 100Mbps ใช้ในระบบ RING, STAR และแบบผสม

3. UTP CAT5e CABLE คือสายทองแดงตีเกลี่ยวที่นำมาใช้ในระบบ LAN ที่มีความเร็วสูง MAXIMUM ของ SPEED อยู่ที่ 1Gbps

4.UTP CAT6 CABLE คือสายทองแดงตีเกลียวที่นำมาใช้ในระบบ LAN ที่มี MAXIMUM ของ SPEED อยู่ที่ 10Gbps BANWIDTH อยู่ที่ 250MHz

5. UTP CAT7 CABLE คือสายทองแดงตีเกลี่ยวที่นำมาใช้ในระบบ LAN ที่มีความเร็วสูง MAXIMUM ของ SPEED อยู่ที่ 10Gbps BANWIDTH อยู่ที่600 MHz




เหล่านี้คือสายที่นำมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันที่นิยมใช้และนำมาใช้กันมากที่สุดก็คือ สาย CAT5e และ CAT6 เพราะในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังคงใช้ SWITCH ที่มีความเร็วอยู่ที่ 10/100/1000 Mbps ยังไม่มีใครที่ใช้เกินไปกว่านี้ อย่างเช่นส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมโรงงานและสถานที่บริการทั่วๆ ไปยังใช้ 10/100 Mbps และที่ใช้ 1 Gbps ก็จะเป็ฯหน่วยงานที่ต้องการความเร็วที่สูงและต้องการใช้ Aplication ที่เยอะ และความเที่ยงตรงสูงนั่นเอง เนื่องจาก File ที่ใช้งานจะมีขนาดใหญ่

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

17ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับHarddisk


มีความเชื่อต่างๆ นานาเกี่ยวกับ HDD.และการใช้งาน HDD.ซึ่งเป็นความเชื่อบางอย่างที่มันเป็นความเชื่อ
ที่ผิดๆ และทำให้เราไม่สามารถใช้งาน HDD. ได้อย่างเต็มที่ เรามาดูกันว่าความเชี่อเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

ความเชื่อที่ 1 :
การฟอร์แมต HDD.บ่อยๆ อาจทำให้อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมต HDD.ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของ HDD.แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ คนจะคิดว่ามีส่วนทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่จริงๆ แล้ว เป็นความเชื่อที่ผิดๆ เท่านั้น
การฟอร์แมต HDD. ไม่ถือเป็นการทำงานที่จะทำให้ HDD.ต้องแบกรับภาะหนัก หัวอ่านของ HDD.จะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นจานข้อมูลแต่อย่างใด (Platter) ระหว่างการฟอร์แมต
สรุปแล้วก็คือ เราสามารถฟอร์แมต HDD. 30 ครั้งต่อวัน ทุกวันเลยก็ได้ อายุการใช้งานมันก็จะไม่ต่างจากจาก HDD. อื่นๆ เลย

ความเชื่อที่ 2 :
การฟอร์แมต HDD.จะทำให้มีข้อมูล หรือปฎิกรณ์ ;อะไรสักอย่าง
วางซ้อนเพิ่มบนแผ่นดิสก์ ซึ่งมีผลทำให้เกิด;bad sector ได้

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตจะไม่ทำให้เกิดข้อมูล หรืออะไรทั้งนั้นที่แผ่น HDD. เนื่องจาก HDD.เป็นระบบปิด ดั้งนั้นฝุ่นหรือปฏิกรณ์จะ ยากที่จะเข้าไปยังดิสก์ได้ และแม้จะมีฝุ่นก็ตามแต่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ฝุ่นจะต้ องมากับการฟอร์แมต

ความเชื่อที่ 3 :
การฟอร์แมต HDD. จะมีความเค้นต่อเข็มหัวอ่าน (head actuator) สูง

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตมีการอ่านในแต่ละเซ็กเตอร์อย่างต่อเนื่อง และเป็นลำดับชั้น เช่น เซ็กเตอร์ที่ 500 เซ็กเตอร์ที่ 501 เซ็กเตอร์ที่ 502 และต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ทำให้มีการเคลื่อนตัวของเข็มหัวอ่านน้อยมาก ดังนั้น ข้อเท็จจริงของความเชื่อนี้ก็คือ การฟอร์แมตจะไม่มีความเค้นสูงต่อเข็มหัวอ่าน HDD.

ความเชื่อที่ 4 :
การดีแฟรกเมนต์ (defragmenting) HDD.จะมีความเค้นที่หัวอ่านสูง

ข้อเท็จจริง : ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องจริง เพราะการดีแฟรกเมนต์ต้องอาศัยการควานหาตำแหน่งของเซ็ กเตอร์อย่างสูง เนื่องจากการดีแฟรกเมนต์ก็คือการจัดระเบียบเซ็กเตอร์ ต่างๆ เพื่อไม่ให้หัวอ่านต้องทำงานหนักเวลาที่ใช้หาข้อมูลใ นการใช้งานจริง
ดังนั้น แม้ในกระบวนการดีแฟร็กเมนต์ จะทำให้เข็มหัวอ่านมีความเค้นสูงก็ตาม แต่หลังจากที่ได้ทำการดีแฟรกเมนต์แล้ว เข็มหัวอ่านก็ไม่ต้องทำงานหนัก เหมือนก่อนที่จะทำการดีแฟรกเมนต์ เพราะจะหาเซ็กเตอร์ได้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น

ความเชื่อที่ 5 :
ถ้า HDD.ของคุณมี bad sector อยู่แล้ว การฟอร์แมต HDD.จะยิ่งทำให้ เกิดเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้น

ข้อเท็จจริง : ถ้า HDD. ของคุณมีเซ็กเตอร์เสียอยู่แล้ว แน่นอนว่าเมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ จะต้องพบเซ็กเอตอร์เสียเพื่มขึ้นเรื่อยๆ
การฟอร์แมตแล้วเห็นเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุไม่ได้เป็นเพราะการฟอร์แมต เพียงแต่ว่าการฟอร์แมตจะทำให้เราได้พบเห็นเซ็กเตอร์ท ี่เสียเพิ่มขึ้นนั่นเอง เพราะยูทิลิตี้สำหรับทำการฟอร์แมตนั้น จะสแกนและตรวจสอบ HDD.ด้วย ทำให้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา

ความเชื่อที่ 6 :
การดาวน์โหลดโปรแกรมและไฟล์ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก จะทำให้
อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง

ข้อเท็จจริง : การดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตไม่ทำให้อายุการใช้งานขอ ง HDD.ลดน้อยลงไป HDD.จะมีการหมุนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะมีการดาวน์โหลดไ ฟล์ หรือว่าไม่ได้ทำอะไรเลยก็ตาม ดังนี้โอกาสที่จะเสียขณะทำการดาวน์โหลด กับขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์ไว้เฉยๆ ก็มีเท่ากัน อายุการใช้งานท่าเดิม

ความเชื่อที่ 7 :
พลังงาน (กระแสไฟ) ที่ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย

ข้อเท็จจริง : กระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ กับกระแสไฟฟ้าถูกตัดทันทีทันใด จะไม่ก่อให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย เพราะในช่วงที่กระแสไฟไม่เพียงพอ หรือมีการตัดกระแสไฟนั้น เข็มหัวอ่านจะพักตัวโดยอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดความ เสี่ยงต่อแผ่นดิสก์ ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะมีการสร้างเซ็กเตอร์เสียได้ ที่เสียหายก็อาจเป็นความเสียหายของ OS.มากกว่า

ความเชื่อที่ 8 :
ระบบกำลังไฟ หรือระบบสำรองไฟที่มีราคาถูก และไม่มีคุณภาพ อาจจะบั่นทอน
อายุการใช้งานของ HDD.เรื่อย ๆ และทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้า ๆ

ข้อเท็จจริง : ระบบกำลังไฟหรือระบบสำรองไฟที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จะไม่ทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้าๆ แต่หากระบบไม่สามารถควบคุมกระแสไฟได้ จนทำให้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลทะลักสู่เครื่องคอมพิว เตอร์
อาจทำให้ HDD.ตายในทันที ไม่ใช่ตายลงอย่างช้า ๆ
แต่ถ้าไม่สามารถให้กระแสไฟเพียงพอแก่การทำงานได้ ดิสก์ก็แค่มาสามารถทำงานได้เต็มที่ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ หรืออาจไม่ทำงานเลย แต่ HDD.จะไม่ตาย แต่ OS อาจตายหรือ พิการ

ความเชื่อที่ 9 :
ถ้า HDD. มีการหมุนความเร็วของดิสก์แบบขึ้นๆ ลงๆ นั่นเป็นเพราะว่า
ระบบสำรองไฟในบางครั้งสามารถส่งกระแสไปที่พอสำหรับกา รทำงานได้
มันจึงหมุนเร็วขึ้น แต่เมื่อมันไม่สามารถให้กระแสไฟที่เพียงพอได้ มันจึง
หมุนช้าลง

ข้อเท็จจริง : ในกรณีที่กำลังไฟตกฮวบ มันจะทำให้ระบบทั้งหมดถูกตัดไฟ ชะงักการทำงาน และจะทำให้เครื่องแฮงก์ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่มีการหมุนของ HDD.ให้เห็นอย่างแน่นอน
หมุนเร็วขึ้นหมุนลดลงนั้น เป็นการการปกติของ HDD. ที่จะทำการวัดขนาดของดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเตรียมความพร้อมในการใ ช้งานแต่ละครั้ง

ความเชื่อที่ 10 :
เสียงคลิกที่ได้ยินจาก HDD. เกิดจากการพักการทำงานของหัวอ่าน

ข้อเท็จจริง : เสียงคลิกที่ได้ยินจากการทำงานของ HDD. อาจเป็นได้ทั้งเสียงการเตรียมพร้อมที่จะเขียนข้อมูล (เหมือนอย่างในความเชื่อที่ 9) หรืออาจเป็นเสียงการสะดุดของหัวอ่านบนแผ่น HDD.

ความเชื่อที่ 11 :
เข็มหัวอ่านใช้มอเตอร์ในการทำงาน ซึ่งการทำงานของมอเตอร์นี้
อาจล้มได้หากมีการใช้งานมากเกินไป

ข้อเท็จจริง : เข็มหัวอ่านในปัจจุบัน ไม่มีการใช้มอเตอร์ในการทำงานแต่อย่างใด ดังนั้น ก็ไม่มีมอเตอร์ที่จะล้มเหลวเมื่อมีการใช้งานมากเกินไ ป
สมัยก่อนนั้น เข็มหัวอ่านเคยใช้มอเตอร์เดินไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน เข็มหัวอ่านใช้ระบบ Voice Call Mechanism ซึ่งก็คือการใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้าในการเคลื่อนหัวอ่าน ไปตามตำแหน่งที่ต้องการ

ความเชื่อที่ 12 :
การจอดพักของหัวอ่าน ทำให้มอเตอร์เข็มหัวอ่านเสื่อมเร็ว

ข้อเท็จจริง : ก็เหมือนกับความเชื่อข้อที่ 11 นั่นคือไม่มีมอเตอร์ นอกจากนี้การจอดพักการทำงานของหัวอ่าน HDD. นั้นจะมีขึ้นโดยอัตโนมัติในกรณีที่กระแสไฟถูกตัด หรือ HDD. หยุดการทำงาน ดังนั้นการจอดพักนี้ ไม่ใช่กระบวนการที่มีการทำงานบ่อย หรือที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง
เข็มหัวอ่านจะมีสปริงคอยควบคุมตำแหน่งของมัน เมื่อมีกระแสไฟเข็มหัวอ่านก็จะอยู่ในตำแหน่งที่มีการ ต้านแรงของสปริง และเมื่อไม่มีกระแสไฟ เข็มหัวอ่านก็จะถูกดันให้อยู่ในตำแหน่งจอดพัก ดังนั้น แม้ว่าเข็มหัวอ่านจะมีมอเตอร์ลี้ลับนี้จริง การจอดพักของเข็มหัวอ่านก็จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับก ารทำให้มอเตอร์ดังว่ามีการ
เสื่อมแต่อย่างใด

ความเชื่อที่ 13 :
ดิสก์จะมีการหมุนเร็วขึ้นเวลาที่มีการอ่านหรือเขียนข ้อมูลเท่านั้น
แต่จะหมุนลดลงเมื่อ HDD .ไม่มีกิจกรรม (idle)

ข้อเท็จจริง : แผ่นดิสก์ภายใน HDD. หรือที่เรียกว่า platter นั้นมีการหมุนในความเร็วระดับเดียวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ อ่าน เขียน หรือ พัก (idle) ยกเว้นแต่เจ้าของเครื่องใช้คำสั่งให้มีการหมุนลดลงใน ช่วง idle เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน

ความเชื่อที่ 14 :
การหมุนลดลงจะทำให้ลดความเค้นที่มอเตอร์ขับเคลื่อนแผ ่นดิสก์ได้

ข้อเท็จจริง : โดยปกติแล้วแผ่นดิสก์จะเริ่มหมุนตอนเครื่อง startup และจะหมุนอยู่อย่างนั้นจน shutdown ในช่วงที่มีการหมุนอยู่นั้น ถือเป็นช่วงที่มีความเค้นสูงสุดต่อตัวมอเตอร์แล้ว ส่วนการรักษาความเร็วของการหมุนให้คงที่นั้น จะใช้กำลังน้อยลงมา
หากมีการใช้คำสั่งให้แผ่นดิสก์หมุนลดลงในช่วง idle นั้น ทุกครั้งที่มีการเขียน หรืออ่านไฟล์ใด ๆ ก็จะต้องมีการหมุนเพื่อให้เร็วขึ้นเพื่อให้ได้ความเร ็วปกติ ก่อนที่จะอ่านหรือเขียนได้ ดังนั้น ควรที่จะให้ดิสก์มีการหมุนที่ความเร็วคงที่ตลอด เพื่อลดความเค้นที่ตัวมอเตอร์

ความเชื่อที่ 15 :
การตัดกระแสไฟอย่างทันทีทันใดอาจทำให้เกิดเซ็กเตอร์เ สีย

ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสีย หรือ bad sector นั้น ไม่ได้เกิดจากการปิดหรือการดับเครื่องอย่างทันทีทันใ ด แต่เมื่อสมัยก่อนนานมาแล้ว ก่อนปิดเครื่องทุกครั้ง ผู้ใช้จะต้องพักจอดหัวอ่าน HDD.ก่อนที่จะสามารถปิดเครื่องได้ แต่ปัจจุบัน ระบบหัวอ่านแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำการจอดพักตัวเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่กระแสไฟฟ ้าถูกตัดจากระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เกิดความเสี่ยงว่าจะเกิด bad sector จากกรณีการตัดกระแสไฟ

ความเชื่อที่ 16 :
เซ็กเตอร์เสียบางอัน เป็นเซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ (คือเป็นที่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์)
และสามารถแก้ไขได้โดยการทำฟอร์แมต HDD.

ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ไม่มีอยู่จริง เซ็กเตอร์ที่เสียนั้น คือเซ็กเตอร์(หรือช่องอันเป็นส่วนหนึ่งของดิสก์สำหรั บการเก็บข้อมูล) ที่ไม่สามารถทำการอ่านหรือเขียนได้ เนื่องจากมีการเสียหารทางกายภาพ เช่น ถูกทำลาย หรือทีการเสื่อมลง ดังนั้น จึงไม่สามารถซ่อมแซมด้วยกระบวนการทางด้านซอฟต์แวร์ได ้

ความเชื่อที่ 17 :
เซ็กเตอร์เสีย สามารถถูกลบได้โดยการฟอร์แมต HDD.

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตในระดับต่ำ จะสามารถทดแทนเช็กเตอร์เสียด้วยเซ็กเตอร์ดีได้ โดยอาศัยพพื้นที่ว่างสำรองบน HDD. อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของ HDD. ก็จะลดลงเนื่องจากหัวอ่านจะต้องทำการค้นหาพื้นที่สำร องบน HDD.ด้วย อีกทั้งพื้นที่สำรองบน HDD.นั้นมีจำนวนจำกัด


สรุปแล้ว bad sector ก็คือ สัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่อ งบางอย่างของ HDD. แม้ bad sector นั้นจะเกิดจากการชนของหัวอ่าน (crash) เพียงครั้งเดียว แต่ซากที่เหลือจากการชนครั้งนั้น รวมทั้งหัวอ่านที่อาจได้รับความเสียหาย อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อไปในอนาคตได้ เช่น อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นดิสก์เพิ่มมากขึ้น หรืออาจทำให้ความเร็วในการหมุน หรือการอ่านลดลง

ดังนั้น ถ้ามีข้อมูลที่สำคัญที่ต้องการเก็บรักษาไว้อย่างมั่น คง ควรหัดทำการแบ็คอัพข้อมูล และเปลี่ยน HDD.เมื่อพบว่ามีปัญหาบางอย่าง เช่น การค้นพบ bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่า HDD.จะสามารถทำงานได้ต่อไป และนานๆครั้งจะพบว่าเกิด bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่า HDD. ของคุณมันใกล้ตายแล้วครับ

ความแตกต่างของ Virus, Worm, Spyware, Trojan, Malware

Virus = แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์โดยการแนบตัวมั นเองเข้าไป มันไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆไ ด้ต้องอาศัยไฟล์พาหะ สิ่งที่มันทำคือสร้างความเสียหายให้กับไฟล์

Worm = คัดลอกตัวเองและสามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื ่องอื่นๆได้อย่างอิสระ โดยอาศัยอีเมลล์หรือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ มักจะไม่แพร่เชื่อไปติดไฟล์อื่น สิ่งที่มันทำคือมักจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเครือข่าย
Trojan = ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวโหลดเอาไปใส่เครื่องเองห รือด้วยวิธีอื่นๆ สิ่งที่มันทำคือเปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาคว บคุมเครื่องที่ติดเชื้อจากระยะไกล ซึ่งจะทำอะไรก็ได้ และโทรจันยังมีอีกหลายชนิด 
Spyware = ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวโหลดเอาไปใส่เครื่องเองห รืออาศัยช่องโหว่ของ web browser ในการติดตั้งตัวเองลงในเครื่องเหยื่อ สิ่งที่มันทำคือรบกวนและละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ ใช้ 
Hybrid malware/Blended Threats = คือ malware ที่รวมความสามารถของ virus, worm, trojan, spyware เข้าไว้ด้วยกัน 
Phishing = เป็นเทคนิคการทำ social engineer โดยใช้อีเมลล์เพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลการทำธ ุรกรรมทางการเงินบนอินเตอร์เน็ตเช่น บัตรเครดิตหรือพวก online bank account 
Zombie Network = เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ จากทั่วโลกที่ตกเป็นเหยื่อของ worm, trojan และ malware อย่างอื่น (compromised machine) ซึ่งจะถูก attacker/hacker ใช้เป็นฐานปฏิบัติการในการส่ง spam mail, phishing, DoS หรือเอาไว้เก็บไฟล์หรือซอฟแวร์ที่ผิดกฎหมาย 
Malware ย่อมาจาก Malicious Software หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่มีจุดประสงค์ร้า ยต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่าย หรือเป็นคำที่ใช้เรียกโปรแกรมที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อ ระบบคอมพิวเตอร์ทุกชนิดแบบรวมๆ โปรแกรมพวกนี้ก็เช่น virus, worm, trojan, spyware, keylogger, hack tool, dialer, phishing, toolbar, BHO, etc
       แต่เนื่องจาก virus คือ malware ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้และอยู่มานาน ดังนั้นโดยทั่วไปตามข่าวหรือบทความต่างๆที่ไม่เน้นไป ในทางวิชาการมากเกินไป หรือเพื่อความง่าย ก็จะใช้คำว่า virus แทนคำว่า malware แต่ถ้าจะคิดถึงความจริงแล้วมันไม่ถูกต้อง malware แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน

จาก...http://www.pantip.com/tech/software/...SV1682232.html

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น


องค์ประกอบของวงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้าคือการนำแหล่งจ่ายไฟฟ้า จ่ายแรงดันและกระแสให้กับโหลดโดยใช้ลวดตัวนำ







ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง จะต่อจากขั้วบวกไปยังขั้วลบ และใช้สวิตช์ เป็นตัวเปิดปิดการไหลของกระแสไฟฟ้า การที่จะทำให้แรงดัน และกระแสไหลผ่านโหลดได้ จะต้องมีองค์ประกอบ ของวงจรไฟฟ้าดังนี้






1. แหล่งจ่ายไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายแรงดันและกระแสให้กับวงจร เช่น แบตเตอรี่, ถ่านไฟฉาย, เครื่องจ่ายไฟ, ไดนาโม และ เจนเนอร์เรเตอร์ เป็นต้น









2. ลวดตัวนำ คือ อุปกรณ์ที่นำมาต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้า จากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง เพื่อจ่ายแรงดันและกระแสไฟฟ้าให้กับโหลด ลวดตัวนำที่นำกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุดคือ เงิน แต่เนื่องจากเงินมีราคาแพงมาก จึงนิยมใช้ทองแดง ซึ่งมีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ดีพอสมควรและราคาไม่แพงมากนัก นอกจากนี้ยังยังมีโลหะชนิดอื่น ๆ ที่สามารถนำไฟฟ้าได้ เช่น ทองคำ, ดีบุก,เหล็ก, อลูมิเนียม, นิเกิล ฯลฯ เป็นต้น







3. โหลดหรือภาระทางไฟฟ้า คืออุปกรณ์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาต่อในวงจร เพื่อใช้งาน เช่นตู้เย็น, โทรทัศน์, พัดลม, เครื่องปรับอากาศ, เตารีด, หลอดไฟ, ตัวต้านทาน เป็นต้น









4. สวิตช์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการปิดหรือเปิดวงจร ในกรณีที่เปิดวงจรก็จะทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับโหลด ในทางปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้า จะต้องต่อสวิตช์เข้าไปในวงจรเพื่อทำหน้าที่ตัดต่อและควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า







5. ฟิวส์ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้วงจรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการทำงานผิดปกติของวงจร เช่น โหลดเกิน หรือ เกิดการลัดวงจร เมื่อเกิดการผิดปกติฟิวส์จะทำหน้าที่ในการเปิดวงจรที่เรียกว่า ฟิวส์ขาดนั่นเอง





วงจรอนุกรม
วงจรอนุกรมคือ การนำโหลดมาต่อเรียงกัน โดยให้ปลายของโหลดตัวแรก ต่อกับปลายของโหลดตัวถัดไป หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง การนำโหลดตั้งแต่สองตัวมาต่อเรียงกันไปแบบอันดับ ทำให้กระแสไหลทิศทางเดียวกัน (ในหนังสือเล่มนี้จะขอใช้ตัวต้านทานแทนโหลดทั่ว ๆ ไป)







การคำนวณค่าความต้านทาน











การวัดค่าความต้านทาน

นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดโอห์ม ในกรณีที่เป็นมิเตอร์แบบเข็มให้ทำการปรับค่าศูนย์ (Zero Ohm Adjust) ก่อนที่จะดำเนินการขั้นตอนต่อไป
นำสายวัดของมัลติมิเตอร์เส้นที่หนึ่งสัมผัสกับขาของตัวต้านทานด้านหนึ่ง
นำสายวัดของมัลติมิเตอร์เส้นที่สองสัมผัสกับขาของตัวต้านทานอีกด้านหนึ่ง
อ่านค่าความต้านทาน






การวัดค่าความต้านทานรวมของวงจร

นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดโอห์ม แล้วทำการปรับค่าศูนย์ (Zero Ohm Adjust)
นำสายวัดของมัลติมิเตอร์เส้นที่หนึ่งสัมผัสกับขาของความต้านทานตัวแรก
นำสายวัดของมัลติมิเตอร์เส้นที่สองสัมผัสกับขาของความต้านทานตัวสุดท้าย
อ่านค่าความต้านทาน






การวัดค่าแรงดันตกคร่อม

นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดแรงดันไฟตรง (DCV) ให้มากกว่าแหล่งจ่าย (E)
นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์ สัมผัสกับด้านไฟบวกของตัวต้านทาน R1
นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ สัมผัสกับด้านไฟลบของตัวต้านทาน R1
อ่านค่าแรงดันตกคร่อมความต้านทาน R1
ทำขั้นตอนที่ 1-4 เพื่อวัดค่าแรงดันตกคร่อมตัวต้านทาน R2 และ R3






การวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรอนุกรม

นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดกระแส (mA) ให้มีค่าสูงไว้ก่อน
นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟบวกของแหล่งจ่ายไฟ
นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟลบของแหล่งจ่ายไฟ
อ่านค่ากระแสที่ไหลผ่านในวงจร





วงจรขนาน
วงจรขนานคือ การนำโหลดมาต่อขนานกันหรือต่อคร่อมกัน ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปโดยนำจุดต่อของปลายทั้งสองข้างของโหลดแต่ละตัวมาต่อร่วมกัน (ในหนังสือเล่มนี้จะขอใช้ตัวต้านทานแทนโหลดทั่ว ๆ ไป)




การคำนวณค่าความต้านทาน










ในการคิดคำนวณค่าความต้านทานที่ต่อขนานกัน 2 ตัว จะใช้สูตรใดในการคำนวณก็ได้ ผลรวมจะได้เท่ากัน และถ้าค่าความต้านทานมีค่าเท่ากันทั้ง 2 ตัว คำตอบที่ได้จะลดลงครึ่งหนึ่ง






การวัดค่าแรงดันตกคร่อมในวงจรขนาน

นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดแรงดันไฟตรง (DCV) ให้มากกว่าแหล่งจ่าย (E)
นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์ สัมผัสกับด้านไฟบวกของตัวต้านทาน R1
นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ สัมผัสกับด้านไฟลบของตัวต้านทาน R1
อ่านค่าแรงดันตกคร่อมความต้านทาน R1
ทำขั้นตอนที่ 1-4 เพื่อวัดค่าแรงดันตกคร่อมตัวต้านทาน R2 และ R3





การวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรขนาน

นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดกระแส (mA) ให้มีค่าสูงไว้ก่อน
นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟบวกของแหล่งจ่ายไฟ
นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟลบของแหล่งจ่ายไฟ
อ่านค่ากระแสที่ไหลผ่านในวงจร






วงจรผสม
วงจรผสมคือ การนำโหลดมาต่ออนุกรมและขนานร่วมกันภายในวงจรเดียวกัน (ในหนังสือเล่มนี้จะขอใช้ตัวต้านทาน แทนโหลดทั่ว ๆ ไป)





การคำนวณค่าความต้านทาน


การคำนวณค่าความต้านทานจะใช้วิธีพิจารณาวงจร ในกรณีที่ต่อแบบอนุกรมจะนำค่าความต้านทานมาบวกกัน ในกรณีที่วงจรต่อแบบขนาน จะใช้สูตรขนานในการคิดคำนวณ จากรูปที่ 6.17 สามารถที่จะคำนวณค่าความต้านทานได้ดังนี้











เขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้







เขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้








เขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้









เขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้



การวัดค่าแรงดันตกคร่อมในวงจรผสม

นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดแรงดันไฟตรง (DCV) ให้มากกว่าแหล่งจ่าย (E)
นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์ สัมผัสกับด้านไฟบวกของตัวต้านทานที่จะวัด
นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ สัมผัสกับด้านไฟลบของตัวต้านทานที่จะวัด
อ่านค่าแรงดันตกคร่อมความต้านทาน


การวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรผสม

นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดกระแส (mA) ให้มีค่าสูงไว้ก่อน
นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟบวกของแหล่งจ่ายไฟ
นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟลบของแหล่งจ่ายไฟ
อ่านค่ากระแสที่ไหลผ่านในวงจร

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไฟฟ้า


โครงสร้างของอะตอม
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามองเห็นบนโลกนี้ล้วนเป็นสสาร (Matters) ทั้งสิ้น สสารเป็นสิ่งที่มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่อาศัย โดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สถานะคือ ของแข็ง, ของเหลว และ ก๊าซ


ธาตุ (Elements) ประกอบจากสสาร จนกลายเป็นธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น ทองแดง, อลูมิเนียม, เงิน, ทองคำ, ปรอท เป็นต้น


อะตอม (Atom) คืออนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุ ไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ ต้องอยู่รวมกัน เป็นโมเลกุล (Molegul) ภายในอะตอมจะประกอบไปด้วยที่อยู่แกนกลางคือนิวเครียส (Neucleus) ภายในนิวเครียสประกอบด้วยโปรตรอน ซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวก (Positive Charge) และนิวตรอน (Neutron) มีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า ส่วนที่อยู่รอบนอกมีวงโคจรความเร็วสูง อาจมีวงเดียวหรือหลายวงก็ได้ วงนอกสุดนั้นเรียกว่าอิเล็กตรอน (Electron) ซึ่งมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าเป็นลบ (Negative Charge)





การแบ่งสารทางไฟฟ้า
การแบ่งสารทางไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ



1. ตัวนำ เป็นสารที่อยู่วงนอกสุดประมาณ 1-3 ตัว เมื่อให้พลังงานเพียงเล็กน้อย จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากวงโคจรเคลื่อนที่ไปในชั้นสารได้ง่าย มีผลทำให้สารนั้นเป็นตัวนำได้ เช่น ทองแดง, อลูมิเนียม ฯลฯ เป็นต้น



2. ฉนวน เป็นสารอิเล็กตรอนวงนอกสุด ที่ยึดเกี่ยวกับอะตอมอื่น ๆ ทำให้อิเล็กตรอนอิสระน้อย จึงไม่เกิดการนำกระแส เช่น ไมก้า, เซรามิค ฯลฯ เป็นต้น



3. สารกึ่งตัวนำ เป็นสารที่มีอิเล็กตรอนวงนอกสุด 4 ตัว เมื่อได้รับอุณหภูมิสูงขึ้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นสภาวะตัวนำ ที่นำมาทำเป็นสารกึ่งตัวนำ ได้แก่ ซิลิกอน และเยอรมันเนียม เป็นต้น


ประจุไฟฟ้า (Charge of Electricity)
ประจุไฟฟ้า หมายถึง ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลไปในตัวนำไฟฟ้า การขัดสีระหว่างวัตถุ 2 ชนิด เช่น การเอาแท่งแก้วถูกับผ้าไหม แท่งแก้วจะถ่ายทอดอิเล็กตรอนให้แก่ผ้าไหม ทำให้แท่งแก้วเกิดประจุบวก และผ้าไหมเกิดประจุลบ


เมื่อมีการนำเอาวัตถุ 2 ชนิดที่มีประจุไฟฟ้าไม่เท่ากันมาวางใกล้ ๆ กันจะไม่เกิดการถ่ายเทอิเล็กตรอน ซึ่งไม่สามารถทำให้ประจุไฟฟ้าถ่ายเทเข้าหากันได้ ซึ่งมีผลทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล เรียกว่า ไฟฟ้าสถิตย์ (Static Electricity)








ประจุไฟฟ้าใช้สัญลักษ์ Q มีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์-วินาที (Ampere-Second) ใช้ตัวย่อของหน่วยวัดเป็น As หรือ C







การเกิดประจุไฟฟ้า
การที่ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากวงโคจรจะมีผลทำให้เกิดประจุไฟฟ้ามีหลายวิธี ได้แก่


1. การขัดสี (Friction) เกิดจากการนำเอาวัตถุต่างชนิดมาถูกัน







2. ความร้อน (Heat) การให้ความร้อนที่จุดต่อของโลหะต่างชนิดกัน





3. แรงกดดัน (Pressure) เกิดโดยการกดดันของผลึกในสารบางชนิด เช่น ผลึกควอทช์ (Quartz)





4. แสงสว่าง (Light) เกิดจากการให้แสงสว่างมาตกกระทบกับสารที่มีความไวต่อแสง เช่น โฟโตเซล







5. แม่เหล็ก (Magnetism) เกิดจากตัวนำเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก







6. ปฏิกิริยาเคมี (Chemical Action) เกิดจากปฏิกิริยาเคมีในเซลไฟฟ้า







แรงดันไฟฟ้า (Electrical Voltage)
แรงดันไฟฟ้าเกิดจากการแยกประจุบวกและประจุลบออกจากกันเพื่อทำให้ประจุทั้งสองเป็นกลาง ซึ่งมีผลทำให้เกิดความต่างศักย์ทางไฟฟ้า แรงดัน 1 โวล์ท คือแรงดันที่ทำให้กระแส 1 แอมแปร์ไหลผ่านเข้าไปในความต้านทาน 1 โอห์ม


หน่วยของแรงดันไฟฟ้า





ชนิดของแรงดันไฟฟ้า
1. แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Voltage) ขนาดของขั้วแรงดันไฟฟ้าจะคงที่ตลอด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ (-)




2. แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Voltage) ขนาดและขั้วของแรงดันไฟฟ้า จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีลักษณะเป็น Sine Wave (~ )







แหล่งกำเนิดไฟฟ้า
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้า หมายถึงแหล่งพลังงานที่สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปได้ มีดังต่อไปนี้คือ


1. แบตเตอรี่ (Battery) เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้า อาศัยการเปลี่ยนแปลงทางด้านเคมีที่บรรจุภายใน ซึ่งเซลล์แต่ละเซลล์ ของแบตเตอรี่จะต่อเป็นอนุกรม ขนาน หรือแบบผสมขึ้นอยู่กับขนาดของแรงดันและกระแสที่ต้องการ



แรงดันไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่ได้จากเซลล์แบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการสร้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ

แบตเตอรี่แบบปฐมภูมิ (Primary Cell)
แบตเตอรี่แบบทุติยภูมิ (Secondary Cell)


แบตเตอรี่แบบปฐมภูมิ คือแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วเกิดการทำปฏิกิริยาเคมีภายใน ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ เช่น ถ่านไฟฉาย, ถ่านนาฬิกา, ถ่านในรีโมทคอนโทรล อุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น










แบตเตอรี่แบบทุติยภูมิ คือแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วสามารถนำมาชาร์จไฟเข้าไปใหม่ได้






ความจุของแบตเตอรี่ (Q) คือความสามารถที่จะจ่ายไฟของแบตเตอรี่ หรือเก็บความจุนั้นขึ้นอยู่กับเซลของแผ่นธาตุ มีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ต่อชั่วโมง (Ah) ดังนั้นจึงสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้




Q = I x t







การนำแบตเตอรี่ไปใช้งาน
ใช้สำหรับขับเคลื่อนเครื่องยนต์ให้แสงสว่างในรถยนต์, เรือและใช้ในการสื่อสารต่าง ๆ เป็นต้น แบตเตอรี่จำพวกนี้ส่วนมากเป็นชนิดแบตเตอรี่ตะกั่วกรด (Lead-Acid )


แบตเตอรี่ชนิดนิเกิล-เหล็ก (Nickel-Iron) เป็นแบตเตอรี่ที่บรรจุในกล่องเหล็กกล้าชุบนิเกิล สามารถจ่ายกระแสไฟได้สูงมาก ขั้วบวกทำมาจากนิเกิลไฮดรอกไซด์ ใช้โปรแตสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นน้ำยาอิเล็กโตรไลต์ที่นิยมใช้คือในเครื่องไฟฉุกเฉิน (Emergency Lighting) ในรถโฟคลิฟ (Electric Forklifts) แต่ไม่นิยมใช้ในการสตาร์ทรถยนต์แกสโซลีนและดีเซล


แบตเตอรี่ชนิดนิเกิล-แคดเมียม (Nickel-Cadmium : Ni-Cad)โครงสร้างคล้ายแบตเตอรี่นิเกิล-เหล็ก ขั้วบวกเป็นชนิดนิเกิลไฮดรอกไซด์ ขั้วลบจะเป็นแคดเมียมและเหล็กละเอียด น้ำยาอิเล็กโตรไลต์ ที่ใช้ภายในคือโปรแตสเซียมไฮดรอกไซด์แบตเตอรี่ชนิดนี้ทนต่อการใช้งาน เสียหายยาก ใช้งานได้นาน ให้แรงดันต่อเซลล์ประมาณ 1.2 โวลท์ เมื่อใช้ไฟหมดแล้วสามารถประจุไฟใหม่ได้ นิยมใช้ในนาฬิกา,เครื่องคิดเลข, แฟลชของกล้องถ่ายรูป อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นต้น










เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cells)
เซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม โดยประยุกต์ให้มีคุณสมบัติทางด้านสารกึ่งตัวนำ เมื่อมีแสงมากระทบจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เซลล์แสงอาทิตย์ในปัจจุบันทำมาจากธาตุซิลิกอน (Silicon) ซึ่งเป็นธาตุที่พบมากที่สุดบนโลก สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ แบบผลึกและแบบอะมอร์พัส



การสร้างจะทำได้โดยใช้ P-N Junction ประกอบขึ้นเป็นพื้นฐานโดยให้แรงดันไฟฟ้าประมาณ 0.5 โวลท์ ส่วนกระแสจะแปรผันตามแสงบนพื้นที่ของเซลล์ ในการรับแสงของซิลิกอนแบบผลึกเดี่ยว ให้กระแสได้ประมาณ 2 แอมแปร์ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เมื่อต้องการแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น ต้องนำเซลล์แสงอาทิตย์มาต่อเพิ่มแบบอนุกรมเพื่อให้ได้แรงดันตามต้องการ ถ้าต้องการกระแสเพิ่มสูงขึ้น ให้นำเซลล์แสงอาทิตย์มาต่อขนานกัน การต่อแบบนี้มีลักษณะเป็นโมดูล เมื่อเอาโมดูลมาประกอบเพื่อติดตั้งใช้งานจะเรียกว่าแผง (Array) แผงที่ติดตั้งในปัจจุบันจะมีอายุการใช้งานประมาณ 20-25 ปี แต่ในขณะนี้ได้มีการพยายามคิดค้นและพัฒนา เพื่อให้มีอายุการใช้งานมากกว่า 30 ปี




จุดเด่นของไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

แหล่งพลังงานคือดวงอาทิตย์ เพราะฉะนั้นจะใช้ได้ตลอดไปและไม่เสียค่าใช้จ่าย แหล่งพลังงานอื่น ๆ ที่เอามาใช้กันเช่น น้ำมัน, ถ่านหิน, ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งแหล่งพลังงานเหล่านี้จะหมดไปได้
ไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์เกิดจากการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ไม่ใช้ น้ำมัน, ถ่านหิน หรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
สามารถสร้างไฟฟ้าได้ทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่สามารถนำไปใช้กับเครื่องคิดเลขจนถึงระบบโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ระดับ 100 KW ซึ่งเซลล์แสงอาทิตย์สามารถให้ประสิทธิภาพเท่ากัน ปัจจุบันนำไปใช้กับเครื่องคิดเลข, ปั๊มน้ำ, รถยนต์ไฟฟ้า, เรือไฟฟ้า, ระบบไฟฟ้าตามบ้าน เป็นต้น
มีการประยุกต์นำเซลล์แสงอาทิตย์ไปใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทเช่น เครื่องหมายสัญญาณจราจร, ไฟฟ้าบริเวณถนนต่าง ๆ, เครื่องทวนสัญญาณวิทยุและโทรศัพท์ และใช้ติดบนหลังคารถยนต์




แหล่งจ่ายไฟแบบอิเล็กทรอนิกส์
แหล่งจ่ายไฟแบบอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Power Supplies ) ที่ใช้ในปัจจุบันได้นำไปประยุกต์ใช้กับ วิทยุ, โทรทัศน์, วิดีโอเทป, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์, ระบบสื่อสารต่างๆ เป็นต้น แหล่งจ่ายไฟแบบนี้เป็นแหล่งจ่ายไฟที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับจากไฟบ้าน 220 โวลท์เป็นไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันต่ำ เพื่อจ่ายให้แก่วงจรอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถทำงานได้










เจนเนอเรเตอร์ (Generators)
เจนเนอเรเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กตัดผ่านขดลวดเหนี่ยวนำ ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำขณะหมุน ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าออกมา










กฎของโอห์ม (Ohm‘s Law)
กระแสไฟฟ้า แรงดันและความต้านทาน จะมีความสัมพันธ์กันคือ ในวงจรไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป ในกรณีที่ความต้านทานคงที่ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านในวงจร จะมีการเปลี่ยนแปลงตามแรงดันที่ป้อนให้กับวงจร ถ้าแรงดันในวงจรไฟฟ้าเพิ่มขึ้น กระแสที่ไหลในวงจรก็จะมีค่าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย


ในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าจ่ายแรงดันให้กับวงจรคงที่ ปริมาณของกระแสที่ไหลในวงจรมีการเปลี่ยนแปลง ในลักษณะผกผันกับค่าความต้านทาน กล่าวคือ ถ้าค่าความต้านทานสูง จะทำให้กระแส ไฟฟ้าไหลในวงจรได้น้อย แต่ถ้าค่าความต้านทานต่ำ กระแสไฟฟ้าจะไหลได้มาก


กล่าวโดยสรุป คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรจะแปรผันโดยตรงกับแรงดันไฟฟ้าและแปร ผกผันกับค่าความต้านทานไฟฟ้านั่นเอง



















กำลังไฟฟ้า (Power in Electrical)
กำลังไฟฟ้าหมายถึง การป้อนแรงดันไฟฟ้าเข้าไปในโหลดเพื่อทำให้เกิดพลังงานในรูปต่าง ๆ เช่นพลังงานแสงสว่าง, พลังงานความร้อน, พลังงานกล เป็นต้น กำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt:W) มีสูตรที่ใช้ในการคำนวณดังนี้ โดย


P = EI (Watt:W)
P = กำลังไฟฟ้า
E = แรงดันไฟฟ้า
I = กระแสไฟฟ้า










ความสัมพันธ์ของการหาค่าทางไฟฟ้า
การหาค่ากระแสไฟฟ้า แรงดัน ความต้านทาน และกำลังทางไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กัน การคำนวณเพื่อหาค่าจะต้องทราบค่าอย่างน้อย 2 ค่าจึงจะหาค่าที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น ต้องการทราบค่าความต้านทาน จะต้องทราบค่าแรงดันและกระแส หรือต้องการทราบค่ากำลังทางไฟฟ้า จะต้องทราบค่าของแรงดันและกระแส เป็นต้น จากความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถสรุปเป็นสูตรเพื่อใช้ในการหาค่า ต่าง ๆได้ดังนี้






กิโลวัตต์ - ชั่วโมง